วันนี้เราจะพามาดูบทสวดมนต์ที่คนไทยนิยมสวดกันมาก เพราะเป็นบทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัยที่สั้นและจำง่าย นั่นก็คือ บทสวดมนต์อิติปิโส ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ท่อน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ซึ่งแต่ละบทจะกล่าวถึงคุณความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
บทสวดอิติปิโส 9 จบ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
(ท่อง 9 จบ)
สำหรับจำนวนการจบนั้น นิยมสวด 3 จบ 9 จบ หรือ 108 จบ แล้วแต่ความสะดวกและความศรัทธาของแต่ละบุคคล
คำแปลบทสวดอิติปิโส
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา (เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)
อะระหัง (เป็นผู้ไกลจากกิเลส)
สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง)
วิชชาจะระณะสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ)
สุคะโต (เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี) โลกะวิทู (เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง)
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ (เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า)
สัตถา เทวะมนุสสานัง (เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
พุทโธ (เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม)
ภะคะวาติ. (เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้)
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม (พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว)
สันทิฏฐิโก (เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง)
อะกาลิโก (เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล)
เอหิปัสสิโก (เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด)
โอปะนะยิโก (เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว)
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ)
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว)
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว)
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว)
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว)
ยะทิทัง (ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ) จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา (คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ)
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
อาหุเนยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา)
ปาหุเนยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ)
ทักขิเณยโย (เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)
อัญชะลีกะระณีโย (เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี)
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. (เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้)
บทสวดมนต์อิติปิโสมีอานิสงส์มากมาย ดังนี้
ช่วยให้จิตใจสงบ เจริญสติปัญญา
ช่วยให้แคล้วคลาดจากอันตราย
ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
ช่วยให้มีโชคลาภ
การสวดมนต์อิติปิโสจึงถือเป็นการเสริมสร้างบุญบารมีและสร้างกำลังใจให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ การสวดมนต์อิติปิโสยังมีความเชื่อที่สืบต่อกันมาว่า ช่วยสะเดาะเคราะห์ และเสริมดวงชะตาอีกด้วย บางคนจึงนิยมสวดมนต์อิติปิโสเป็นประจำทุกวัน เพื่อเสริมดวงชะตาและช่วยให้ชีวิตมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา